แมวมงคล แมวร้ายให้โทษ แมวไทยที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน หน้าหลัก

สายพันธุ์แมวไทยที่เหลืออยู่

วิเชียรมาศ : เพชรแห่งจันทราไทย

วิเชียรมาศ

ปากบนหางสี่เท้า โสตสอง
แปดแห่งดำดุจปอง กล่าวไว้
ศรีเนตรดั่งเรือนรอง นาคสวาดิ ไว้เอย
นามวิเชียรมาศไซร้ สอดพื้นขนขาว

ย่อหน้า บทโคลงข้างต้นมีปรากฎอยู่ในสมุดข่อยโบราณที่ถูกตีพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทฺธสรมหาเถระ (นวม) โดยใช้ชื่อว่า “ตำราดูลักษณะแมว (วิฬาร์) ของวัดอนงคาราม” ดังคำนำที่ปรากฎไว้ในตอนต้นว่าไม่ปรากฎหลักฐานของผู้แต่ง หรือผู้รวบรวม ทว่า ถือเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่มีการกล่าวถึงลักษณะของแมวไทยโบราณทั้ง 23 ชนิด เป็นแมวมงคล 17 ชนิด และแมว อวมงคล 6 ชนิด ซึ่งนอกจากตำราดูลักษณะแมวของวัดอนงคารามแล้ว ยังมีตำราดูแมวไทยโบราณอีกหลายฉบับรวมถึงแบบฉบับสมุดข่อย ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติอีกด้วย แต่โดยรวมแล้วเนื้อหานั้นมีความใกล้เคียงกัน

ย่อหน้า ในตำราดูแมวไทยได้จดบันทึกชื่อแมวพันธุ์นี้ไว้ว่า “วิเชียรมาส” จะสังเกตได้ว่า “มาส” ซึ่งแปลว่าพระจันทร์ สะกดแตกต่างจาก “มาศ” คำที่เราเห็นในปัจจุบันที่แปลว่าทอง ส่วนคำว่า “วิเชียร” แปลว่าเพชร ทำให้ชาวต่างชาติขนานนามแมวสายพันธุ์นี้ว่า “Moon Diamond” หรือเพชรแห่งดวงจันทร์ และกลายเป็นแมวอันโด่งดังจากสยามประเทศ หรือ “Siamese Cat” นั่นเอง แมวชนิดนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น แมวเก้าแต้ม แต่ที่จริงแล้วไม่ถูกต้อง เพราะแมวเก้าแต้มคือแมวที่มีสีพื้นขาวและมีแต้มบนร่างกาย 9 แห่ง เหตุที่มักเข้าใจผิดเพราะแมว วิเชียรมาศ จะมีพื้นสีงาช้าง และมีแต้มที่จมูกครอบไปถึงปากเป็นหนึ่งแห่ง กับขาทั้งสี่ หูสอง หางหนึ่ง และที่อวัยวะเพศอีกหนึ่ง รวมเป็น 9 แห่งเช่นกัน ซึ่งสีแต้มของแมววิเชียรมาศนี้ ตามตำรากล่าวไว้ว่า ต้องเป็นสีดำดังหมึกวาด แต่ปัจจุบันมักจะเป็นแต้มสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ หรือที่ต่างประเทศเรียกว่า “Seal Brown” หรือแต้มสีครั่งนั่นเอง

วิเชียรมาศ

ย่อหน้า แมววิเชียรมาศ เป็นแมวโบราณที่มีลักษณะเด่นมากที่สุดในบรรดาสายพันธุ์อื่นๆ เพราะมีดวงตาสีฟ้าสวยงาม หรือที่ตามตำรากล่าวเปรียบไว้ว่าเป็น เกล็ดพญานาค นิยมเลี้ยงกันในเหล่าเชื้อพระญาติพระวงศ์ ในบรมมหาราชวังแต่ครั้งสมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อสมัยเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 แมวไทยก็ได้ ถูกทหารพม่านำกลับไปด้วยเพราะเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินมีค่า เนื่องจากในสมัยอยุธยามีการซื้อขายแมวกันถึง 1 แสนตำลึงทองเลยทีเดียว และนี่จึง เป็นต้นเหตุที่ทำให้แมวไทยโบราณทยอยสูญพันธุ์ไป จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระราช ทานแมวไทยวิเชียรมาศ 1 คู่ เพื่อเป็นทูตสันถวไมตรีระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2427 แก่นาย Owen Gould กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพมหานคร ต่อมาแมวไทยคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดที่ The Crystal Palace กรุงลอนดอน ผลปรากฏว่าได้รางวัลชนะเลิศ ทำให้ชาวอังกฤษพากันตื่นเต้นและ หันมานิยมเลี้ยงแมวไทยกันมากขึ้น จนถึงขั้นตั้งเป็นสโมสรแมวไทยเมื่อปี พ.ศ. 2443 ใช้ชื่อว่า The Siamese Cat Clubs และสมาคมแมวไทย แห่งจักรวรรดิอังกฤษ หรือ The Siamese Cat Society of the British Empire ในปี พ.ศ. 2471

ย่อหน้า นับว่านั่นอาจเป็นการสร้างชื่อของแมวไทยครั้งแรกในเวทีประกวดแมวระดับนานาชาติ และทำให้ชื่อของแมววิเชียรมาศโด่งดังไปทั่วโลกจนเป็นที่นิยม เลี้ยงทั้งในหมู่คนไทยและต่างประเทศตั้งแต่นั้นสืบมาจนถึงทุกวันนี้

Follow Me

Facebook