แมวมงคล แมวร้ายให้โทษ แมวไทยที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน หน้าหลัก

สายพันธุ์แมวไทยที่เหลืออยู่

ศุภลักษณ์ : การกลับมาอีกครั้งของสายเลือดไทย

ศุภลักษณ์

วิลาศุภลักษณ์ล้ำ วิลาวรรณ
ศรีดังทองแดงฉัน เพริศแพร้ว
แสงเนตรเฉกแสงพรรณ โณภาษ
กรรษสรรพโทษแล้ว สิ่งร้ายคืนเกษม

ย่อหน้า แมวศุภลักษณ์ หรืออีกชื่อเรียกว่าทองแดง ตามสีขนน้ำตาลเข้ม แต่จะกลายเป็นสีทองแดงเมื่อกระทบแสงแดด หนวดมีสีทอง ตาสีเหลืองอำพัน อุ้งเท้าสีส้มอมแดง ลิ้นสีแดงเข้ม จัดเป็นหนึ่งในแมวหายากในกลุ่มแมวไทยโบราณ

ย่อหน้า ชื่อ ศุภลักษณ์ มาจากคำว่า “ศุภ” และ “ลกฺษณ” ในภาษาสันสกฤต รวมกันแปลว่าลักษณะที่ดีงาม แมวพันธุ์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายพันธุ์ เดียวกับ Burmese แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ เนื่องเพราะ Burmese จะมีแต้มสีเข้มบริเวณหน้า หาง ขา และอวัยวะเพศ ในขณะที่ศุภลักษณ์จะไม่มีแต้ม ถึงกระนั้นทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ล้วนแต่เป็นแมวไทยโบราณเช่นเดียวกันและต่างก็ถูกนำตัวไปยังพม่าเมื่อสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาราชธานี ครั้งที่ 2 จน กระทั่งราวปี พ.ศ. 2556 มีผู้ไปพบแมวศุภลักษณ์ ลักษณะดีตามตำรา ชื่อ “อโยธยา” ซึ่งเป็นแมวจร แถวจังหวัดสมุทรปราการ และได้มีการ ส่งตัวอย่างดีเอ็นเอของอโยธยาไปตรวจที่ประทศอังกฤษ ผลออกมาคือแมวตัวนี้สีน้ำตาลล้วน ไม่มีสีอื่นเจือปน ซึ่งหมายความว่าเป็นแมวศุภลักษณ์ สายพันธุ์แท้จริงๆ ยังความดีใจให้กับกลุ่มผู้เพาะพันธุ์แมวไทยเป็นอย่างมาก ในปีต่อมาทางกลุ่มฯ จึงได้นำเจ้าอโยธยาไปผสมพันธุ์กับแมวชื่อทอง ประกายแสด แมวไทยอีกตัวจากฟาร์มของคุณปรีชา วัฒนา ผลปรากฎว่า ลูกของทั้ง 2 ตัวที่ได้มีแมวดีเอ็นเอขนสีน้ำตาลล้วนถึง 3 ตัว (จากทั้งหมด 5 ตัว) นี่จึงเป็นเหตุการณ์แรกที่ทำให้แมวศุภลักษณ์ได้กลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง

ศุภลักษณ์

ย่อหน้า นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ทางกลุ่มฯ ก็ได้รับการติดต่อจากคุณจักรพันธ์ จินะ ซึ่งอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ว่าเขาได้แมวศุภลักษณ์มาจาก ฝั่งพม่าด้วยความบังเอิญ กลุ่มผู้เพาะพันธุ์แมวไทยจึงตัดสินใจขอซื้อแมวศุภลักษณ์ตัวนี้ไว้เพื่อขยายพันธุ์เพิ่ม และได้ตั้งชื่อให้ว่า อโยเดีย อันแต่ง เติมมาจากคำเรียกคนกรุงศรีฯ ในภาษาพม่าที่แปลว่าเมืองขี้แพ้ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อพ่อพันธุ์แมว อโยธยา และเป็นการบอกเป็นนัยว่าเราไม่ใช่ เมืองที่ยอมแพ้อีกต่อไป

ย่อหน้า ในปัจจุบัน อโยเดีย กับ อโยธยา มีลูกด้วยกันทั้งหมด 6 ตัว และสามารถกล่าวได้ว่าลูกแมวครอกนี้ทั้งหมดคือแมวศุภลักษณ์สายพันธุ์แท้ใน ประวัติศาสตร์ไทยในรอบ 248 ปี

Follow Me

Facebook